วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มารู้จักตลาดการเงินในประเทศไทย!!!

เขียนโดย Unknown ที่ 2/02/2556 12:54:00 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Stock Exchange of Thailand" : SET)

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand - SET) เป็นตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2517 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518  ทำหน้าที่เป็นตลาดรองเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายตราสารทุน ของบริษัทต่างๆ ที่ขึ้นทะเบียนไว้ และ เพื่อให้สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้โดยสะดวก ปัจจุบันการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
เวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ มี 2 ช่วงคือ ช่วงเช้า 10.00น. - 12.30น. ช่วงบ่าย 14.30น. - 16.30น. และหยุดตามวันหยุดของทางราชการ

การดำเนินงานหลัก
=== การรับหลักทรัพย์จดทะเบียน ===
บริษัทจดทะเบียนประกอบด้วยบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดเอ็ม เอ ไอ
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET)
บริษัทจดทะเบียนใน[[ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ]] (MAI)
หลักทรัพย์จดทะเบียน
** [[หุ้นสามัญ]] (Common Stocks)
** [[หุ้นบุริมสิทธิ]] (Prefer Stocks)
** [[หน่วยลงทุน]] (Unit Trusts)
ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR)
** [[ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์]]หรือวอแรนท์ (Warrant)
** [[ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้]] (Tranferable Subscription Right:TSR)
** [[ใบสำคัญแสดงสิทธิที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง]] (Deposit Receipt:DR)
** [[ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์]]หรือวอแรนท์อนุพันธ์ (Derivative Warrants:DW)
** [[กองทุน ETF]] (Exchange Traded Fund)
** [[หุ้นกู้]] (Debentures)
** [[พันธบัตร]] (Bond)


 ************************************************************************************************************

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ( MARKETING ASSOCIATION OF THAILAND : MAT)

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ( MARKETING ASSOCIATION OF THAILAND (MAT)) ได้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นมาจากการปรึกษาหารือระหว่างนักบริหารการตลาดที่เข้าร่วมอบรม ณ ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย และด้วยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจากที่ปรึกษา และเจ้าหน้าที่เทคนิคทางด้านการตลาดของศูนย์ฯ อันมีผลสรุปได้ว่าการก่อตั้งสมาคมฯ นี้จะมีผลดีอย่างยิ่งในการที่จะให้นักการตลาดทั้งหลาย ได้มีโอกาสปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน รวมทั้งเป็นทางเผยแพร่เทคนิคทางการตลาดใหม่ ๆ ซึ่งจะเป็นผลดีในที่สุดต่อการปรับปรุงและพัฒนาการตลาดของไทย ดังนั้น สมาคมฯ จึงได้ก่อตั้งขึ้นและได้จดทะเบียนจากทางราชการในเดือน เมษายน 2509 

               สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เป็นสมาคมวิชาชีพด้านการตลาด ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไร มุ่งส่งเสริมความเจริญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศด้วยการส่งเสริมและพัฒนาการตลาดและความสามารถของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการตลาด

              วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมหลักการและการปฏิบัติของการตลาดในกิจกรรมอุตสาหกรรมและการค้าในประเทศไทยให้ก้าวหน้าด้วยการปรับปรุงความสามารถทั่วๆ ไป การศึกษาความรู้ทางวิชาการและสมรรถภาพของผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับ การตลาด
2.เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับสมาชิกในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการตลาด
3.เพื่อให้ความช่วยเหลือร่วมกันในอันที่จะนำวิธีการจัดการตลาดไปใช้สำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพในธุรกิจของสมาชิกให้ดีขึ้น
4.เพื่อตั้งหลักจรรยาในการปฏิบัติงานของผู้เกี่ยวข้องในการตลาดและดำรงรักษาหลักเหล่านั้นไว้เป็นมาตรฐาน
5.เพื่อเผยแพร่ข้อคิดเห็นที่ว่าการตลาดเป็นอาชีพที่มีเกียรติและคุณค่า
6.เพื่อให้ผู้มีอาชีพในการตลาดได้มีส่วนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาและการแนะแนวทางสำหรับผู้ที่มุ่งจะมีอาชีพในทางนี้ ตลอดจนร่วมมือกับอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และวงการอาชีพต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับความต้องการของการศึกษาในการตลาดทั้งในปัจจุบันและอนาคต
7.เพื่อร่วมมือกับสถาบันต่าง ๆ ที่ดำเนินการฝึกอบรมทางการตลาด
8.เพื่อติดต่อและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ความชำนาญ และข่าวสารต่าง ๆ ทางด้านการตลาดอยู่เสมอ
9.เพื่อเผยแพร่หลักการในการเพิ่มผลผลิตทางการตลาด และยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น ด้วยการ ปรับปรุงวิธีการจัดการตลาดให้ดีขึ้น
10.เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ และปัญหาเกี่ยวกับการตลาดด้วยการออกหนังสือ วารสาร และเอกสารต่าง ๆ
11.เพื่อให้ความอุปถัมภ์ในการวิจัยศึกษา ค้นคว้า และดำเนินการสำรวจในเรื่องเกี่ยวกับการตลาดอันจะเป็นการช่วยเพิ่มพูนความรู้ ทางเทคนิคที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิธีนั้น ๆ ให้ดียิ่งขึ้น




 ************************************************************************************************************

บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)(Thailand Futures Exchange : TFEX) 

                  บมจ. ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ เป็นหน่วยงานที่อาสาเข้ามาเป็นผู้บุกเบิกตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทางการเงินในประเทศไทยเพื่อเป็นจักรกลในการพัฒนาความก้าวหน้าของตลาดทุนไทยให้เติบโตไปอย่างต่อเนื่อง โดย บมจ. ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ กำหนดพันธกิจของของการดำเนินธุรกิจโดยมุ่งสู่การเป็นตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าชั้นนำในอาเซียน
ลักษณะการดำเนินงาน

                  บมจ. ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ เป็นศูนย์กลางการซื้อขายอนุพันธ์เกี่ยวกับตราสารทุน ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ ภายใต้พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นหน่วยงานกำกับดูแล สินค้าที่สามารถจัดให้มีการซื้อขายได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 คือ ฟิวเจอร์ส (Futures) ออปชั่น (Options) และออปชันบนสัญญาฟิวเจอร์ส (Options on Futures) ของสินทรัพย์อ้างอิงประเภทต่าง ๆ

ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีบทบาทสำคัญในการสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงินและระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากอนุพันธ์สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนหรือผู้ประกอบการต้องเผชิญได้อย่างมีประสิทธิภาพ อนุพันธ์สามารถอ้างอิงกับราคา หรือดัชนีราคาของสินค้า หรือสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย ราคา-พันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยนราคาน้ำมัน ราคาทองคำ ราคาสินค้าเกษตร เป็นต้น ด้วยความหลากหลายของสินทรัพย์อ้างอิงนี้ ทำให้อนุพันธ์สามารถใช้จัดการกับปัจจัยความเสี่ยงต่างๆได้อย่างคล่องตัว เช่น ในภาคการผลิต ผู้ผลิตสามารถใช้อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินค้าต่างๆ ในการควบคุมราคาต้นทุนสินค้าทั้งทางด้านต้นทุนราคาวัตถุดิบและต้นทุนด้านการผลิต สามารถใช้ควบคุมราคาจัดจำหน่ายสินค้ารวมถึงสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ภายนอก เช่น ควบคุมราคาอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

ในภาคการเงินก็เช่นกัน ผู้ลงทุนหรือผู้ที่ประกอบธุรกิจในตลาดทุนที่ต้องเผชิญความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์ การใช้อนุพันธ์ทางการเงินนี้ ช่วยให้ผู้ลงทุน และผู้ที่ประกอบธุรกิจในตลาดทุน สามารถบริหารความเสี่ยงดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอีกประการหนึ่ง คือ เป็นเครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการลงทุน อนุพันธ์ทางการเงินนั้นสามารถนำมาซื้อขาย เพื่อทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคา หรือทำกำไรจากทิศทางการขึ้นลงของตัวแปรทางการเงินต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยน ยิ่งไปกว่านั้น อนุพันธ์ยังมีจุดเด่นที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือประกอบกลยุทธ์จัดการการลงทุนในแบบที่หลากหลายและคล่องตัว ช่วยให้การบริหารจัดการการลงทุนบรรลุวัตถุประสงค์ดังที่วางไว้




 ************************************************************************************************************

ตลาดตราสารหนี้( Bond Electronic Exchange: BEX)

นักลงทุนสามารถซื้อขายตราสารหนี้ได้ที่ตลาดตราสารหนี้ ( Bond Electronic Exchange: BEX) ซึ่งเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไปตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ที่ผ่านมา ด้วยระบบการซื้อขายแบบเรียลไทม์ นำเสนอข้อมูลที่โปร่งใส ตลอดจนถึงกระบวนการส่งมอบและชำระราคาที่เชื่อถือได้ เพื่อที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณการซื้อขาย คุณภาพของตราสารหนี้ ตัวกลางการซื้อขาย แหล่งข้อมูลอ้างอิง รวมถึงการขยายขอบเขตการพัฒนาให้กว้างขวางขึ้น และครอบคลุมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยทั้งหมด เพื่อให้รองรับต่อแนวนโยบายของภาครัฐในเรื่องตลาดพันธบัตรแห่งเอเชีย โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการตลาดรองตราสารหนี้ที่สมบูรณ์แบบของประเทศไทย ซึ่งสามารถให้บริการครอบคลุมผู้ลงทุนและผู้ค้าตราสารหนี้ทั้งหมด
บทบาทของตราสารหนี้

การระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้ เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี2540 ประเทศไทย ต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว สถาบันการเงินและบริษัทเอกชนจำนวนมากประสบกับปัญหาความมั่นคงทางการเงิน ภาครัฐบาลต้องออกพันธบัตร กู้เงินจากประชาชนและนักลงทุน เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและเพื่อช่วยฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ ในขณะที่บริษัทเอกชน เริ่มทยอยออกขายหุ้นกู้ เพื่อเป็นช่องทางระดมทุนเพิ่ม จากการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน   ตลาดตราสารหนี้ได้รับแรงส่งเสริม จากสภาวะอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่ตกต่ำ เป็นระยะเวลานานหลายปี อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินกู้ของธนาคาร อยู่ในระดับต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ ทำให้นักลงทุนสถาบัน และผู้มีเงินออมกับภาคธนาคาร ตระหนักถึงการกระจายเงินลงทุนไปสู่ตราสารหนี้นับเป็นการเปิดศักราชของการระดมทุนระยะยาวในประเทศ ที่จะเป็นรากฐาน ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงิน ให้แก่การดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน เนื่องจากสามารถกระจายแหล่งระดมเงินทุน ให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยผ่านตลาดทุนในรูปการขายหุ้นสามัญ และการออกขายหุ้นกู้ ให้แก่นักลงทุนภายในและต่างประเทศ บริษัทสามารถวางกลยุทธ์ ด้านการจัดการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากเดิมที่พึ่งพิงเงินทุนจากสถาบันการเงิน ในรูปเงินกู้โดยตรงเท่านั้น




 ************************************************************************************************************

ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย(Altering Risk to Opportunity : AFET)

เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าปีพ.ศ. 2542 และเป็นตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพียงตลาดเดียว มีฐานะเป็นนิติบุคคลอิสระ โดยภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าภายใต้กฎระเบียบที่ชัดเจน และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า และเพื่อให้การจัดตั้งตลาดที่มีการซื้อขายล่วงหน้าบรรลุวัตถุประสงค์คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2544 ให้นำเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 600 ล้านบาทเพื่อใช้ในการจัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.) และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย

ความพยายามในการจัดตั้งตลาดล่วงหน้าในประเทศไทยนั้นนับได้ว่าใช้เวลานานเป็นอย่างยิ่ง ความคิดในการตั้งตลาดล่วงหน้าในประเทศไทยมีขึ้นมานานแล้ว เนื่องจากเห็นแบบอย่างของตลาดล่วงหน้าในต่างประเทศ ซึ่งในประเทศเหล่านั้นใช้ตลาดล่วงหน้าในการป้องกันความเสี่ยง และเป็นการค้นพบราคาในอนาคตซึ่งแยกจากตลาดที่ดำเนินการซื้อขายปรกติ ย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.2522 รัฐบาลต้องการปกป้องผู้มีรายได้น้อยที่จะถูกคดโกงจากธุรกิจแชร์ หรือการลงทุนในธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าหรือที่รู้จักกันในนาม "คอมมอดิตี้" และได้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ขึ้นมาเพื่อป้องกันประชาชนถูกฉ้อโกง แต่ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และร่างดังกล่าวยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา

จนกระทั่งล่วงเลยมาถึงปีพ.ศ.2526 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ทำการศึกษาปรับปรุงระบบตลาดสินค้าเกษตรและเห็นชอบให้มีการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า และต่อมาในปีพ.ศ. 2529 กรมการค้าภายในได้นำมาศึกษาต่อ เนื่องจากตลาดข้าวโพดในประเทศทำการซื้อขายล่วงหน้ามีปัญหาการไม่ปฏิบัติตามสัญญา และเห็นชอบให้มีการจัดตั้งตลาดล่วงหน้าขึ้นเช่นเดียวกัน และในปีพ.ศ.2531 มีความพยายามจากภาคเอกชนในการตั้งบริษัท บางกอกคอมมอดิตี้ เอ็กซ์เช้นท์ จำกัดเพื่อประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า แต่รัฐบาลไม่เห็นชอบให้จัดตั้ง เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายควบคุมการธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าโดยตรง และรัฐบาลเห็นว่าควรแยกกฎหมายควบคุมการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าจากธุรกิจแชร์

ปีพ.ศ. 2532 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร้องขอให้กระทรวงพาณิชย์จัดทำโครงสร้างตลาดซื้อขายล่วงหน้ายางพารา จนกระทั่งปีพ.ศ.2534 กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับกิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า คือยกร่างพระราชบัญญัติขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2535 และได้มีการปรับปรุงร่างหลายครั้งหลายรัฐบาล จนกระทั่งสุดท้ายผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาและได้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2542


วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการจัดการทางการเงิน

เขียนโดย Unknown ที่ 12/10/2555 02:56:00 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)       
     เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม   




                                                                                                                       
ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)              
       ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในหารวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน



           
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information system CBIS)                   
        มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people) 
  • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิต      เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
  • ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
  • ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
  • เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
  • กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
  • คน (People)  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency)
  • ทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
  • ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
  • ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
  • ช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น               
ประสิทธิผล (Effectiveness)  
  • ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้
  • ช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/ บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่
  • ช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย 
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ  
        ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การสามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่าง มีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information system)
2. ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system)
3. ระบบสารสนเทศด้านการตลาด (marketing information system)
4. ระบบสารสนเทศด้านการผลิตและการดำเนินงาน (production and operations information system)
5. ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรบุคคล (human resource information system)



ระบบการเงิน
         ระบบการเงิน (financial system) เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดี การทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดย ตรงต่อระบบร่างกาย ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง (liquidity) ในการดำเนินงาน เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน อาจก่อให้เกิดปัญหาขึ้นทั้งโดยตรงและทางอ้อม โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีหน้าที่สำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้

                1.  การพยากรณ์ (forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือก และการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ เพื่อใช้ทรัพยากรทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนักการเงินสามารถใช้หลักการทางสถิติและแบบจำลองทาง คณิตศาสตร์มาประยุกต์ การพยากรณ์ทางการเงิน จะอาศัยข้อมูลจากทั้งภายในและภายนอกองค์การ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
                2.  การจัดการด้านการเงิน (financial management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับและรายจ่าย การหาแหล่งเงินทุนจากภายนอก เพื่อที่จะเพิ่มทุนขององค์การ โดยวิธีการทางการเงิน เช่น การกู้ยืม  การออกหุ้นหรือตราสารทางการเงินอื่น เป็นต้น
                3.  การควบคุมทางการเงิน (financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนวางแนวทางแก้ไขหรือปรับปรุงให้การดำเนินงานทางการเงินของธุรกิจมีประสิทธิภาพ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมการทางการเงินของธุรกิจสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทดังต่อไปนี้
  •     การควบคุมภายใน (internal control)       
  •     การควบคุมภายนอก (external control)
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (financial information system) 
        ระบบสารสนเทศด้านการเงินเป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้น สำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ ตั้งแต่การวางแผน การดำเนินงาน และการควบคุมทางด้านการเงิน เพื่อให้การจัดการทางการเงินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่แหล่งข้อมูลสำคัญในการบริหารเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้
                1.  ข้อมูลจากการดำเนินงาน (operating data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานของธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการควบคุม ตรวจสอบ และปรับปรุงแผนการเงินขององค์การ
                2.  ข้อมูลจากการพยากรณ์ (forecasting data) เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประมวลผล เช่น การประมาณค่าใช้จ่ายและยอดขายที่ได้รับจากแผนการตลาด โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการพยากรณ์ โดยที่ข้อมูลจากการพยากรณ์ถูกใช้ประกอบการวางแผน การศึกษาความเป็นไปได้ และการตัดสินใจลงทุน
                3.  กลยุทธ์องค์การ (corporate strategy) เป็นเครื่องกำหนดและแสดงวิสัยทัศน์ ภารกิจ วัตถุประสงค์ แนวทางการประกอบธุรกิจในอนาคต เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยที่กลยุทธ์จะเป็นแผนหลักที่แผนปฏิบัติการอื่น ต้องถูกจัดให้สอดคล้องและส่งเสิรมความสำเร็จของกลยุทธ์
                4.  ข้อมูลจากภายนอก (external data) ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงิน สังคม การเมือง และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อธุรกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยข้อมูลจากภายนอกจะแสดงแนวโน้มในอนาคตที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์
         ระบบสารสนเทศด้านการบัญชีและระบบสารสนเทศด้านการเงินจะมีความสัมพันธ์กัน เนื่องจากข้อมูลทางการบัญชีจะเป็นข้อมูลสำหรับการประมวลผลและการตัดสินใจทางการเงิน โดยนักการเงินจะนำตัวเลขทางการบัญชีมาประมวลผลตามที่ตนต้องการ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน
ระบบสารสนเทศทางการเงิน (finance)
1. หน้าที่หลักทางการเงิน
          1.1 การคาดการณ์ทางการเงิน แสดงจำนวนเงินที่จะเข้าสู่กิจการ แหล่งที่มาการใช้จ่าย ตัวอย่างการใช้แบบจำลองกระแสเงินสด
          1.2 การจัดการเงินทุน แหล่งเงินทุน การกู้ ออกพันธบัตรเงินกู้ ออกหุ้น รวมกิจการ สามารถใช้แบบจำลองทางเลือกต่าง ๆ สำหรับบริหารเงิน
          1.3 การตรวจสอบ (auditing)
                  - เป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือแนวทางที่กำหนด
                  - การตรวจสอบภายใน (internal audit) การเงิน การปฏิบัติการ
                  - การตรวจสอบภายนอก (external audit) โดยผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระ
          ผลการตรวจสอบทางการเงินจะได้ งบรายได้ งบกำไรขาดทุน งบดุล
2. แหล่งสารสนเทศทางการเงิน
          2.1 ข้อมูลประมวลผลธุรกรรม
          2.2 ข้อมูลการคาดการณ์ภายใน จากฝ่ายต่าง ๆ เช่น ยอดขาย รายได้
          2.3 ข้อมูลเงินทุน (funding data) แหล่งเงินทุน เงื่อนไข การปันผล การจ่ายดอกเบี้ย             
          2.4 ข้อมูลกลุ่มหลักทรัพย์ (portfolio data) หลักทรัพย์ที่กิจการถือ ราคาตลาดหลักทรัพย์
          2.5 ข้อกำหนดกฎเกณฑ์ของรัฐบาล เช่น การลดค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ย
          2.6 ข้อมูลสภาวะภายนอก เช่น ราคาหุ้น อัตราดอกเบี้ย ทิศทางของกิจการ
          2.7 แผนกลยุทธ์ การกำหนดแผนการเงินจะต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของกิจการ
3. ตัวอย่างระบบสารสนเทศทางการเงิน
          3.1 การจัดการเงินสดและหลักทรัพย์ (cash/credit/investment management)
                  - ข้อมูลเงินสดรับและออก 
                  - ใช้สำหรับการลงทุนกับเงินทุนส่วนเกิน
                  - มีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การเก็บเงินสด software
          3.2 งบประมาณการลงทุน (capital budgeting) 
                  - การวิเคราะห์ การลงทุนโรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ ความเสี่ยง 
          3.3 การวางแผนการเงิน (financial planning)
                  - ประเมินสมรรถนะทางการเงินของธุรกิจในปัจจุบันและที่คาดการณ์ 
                  - วิเคราะห์ทางเลือกทางการเงินของกิจการ
          การทำหน้าที่ในการจัดการสารสนเทศด้านการเงินให้แก่ผู้บริหารและกลุ่มบุคคล ซึ่งต้องการทำการตัดสินใจได้ดีขึ้นและช่วยในการหาโอกาสและปัญหาที่เกิดขึ้น ได้อย่างรวดเร็ว โดยระบบสารสนเทศด้านการเงินนิยมใช้รวมเข้ากับซอฟต์แวร์ในการวางแผนทรัพยากร ขององค์กร (Enterprise Resource Planning--ERP) ซึ่งเป็นกลุ่ม ของโปรแกรมที่จัดการ วิเคราะห์และติดตามการดำเนินธุรกิจของแหล่งผลิตหรือสาขาต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าสารสนเทศด้านการเงินในการปฏิบัติงาน สามารถนำไปใช้สนับสนุนความสามารถในการตัดสินใจให้แก่บุคคลที่ต้องการได้ทัน เวลา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงินมีความสามารถการทำงานดังต่อไปนี้
          1. รวบรวมสารสนเทศด้านการเงินและการดำเนินงานจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไว้ในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเพียง ระบบเดียว
          2. สนับสนุนผู้ใช้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับด้านการเงินและผู้ใช้อื่น ๆ ของบริษัท ให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลและสารสนเทศทางด้านการเงินผ่านทางเครือข่ายในองค์กร ได้ง่าย
          3. เตรียมข้อมูลด้านการเงินที่มีอยู่ให้พร้อมต่อการใช้งาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
          4. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินได้หลายมิติ เช่น วิเคราะห์ตามช่วงเวลา, ภูมิประเทศ, ผลิตภัณฑ์, โรงงานผลิต หรือลูกค้าได้
          5. วิเคราะห์การดำเนินงานด้านการเงินที่ผ่านมาและที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้
          6. ติดตามและควบคุมการใช้เงินทุนได้ตลอดเวลา
ส่วนที่นำเข้าไปในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ได้แก่   
          1. แผนเชิงกลยุทธ์และนโยบายของบริษัท ในแผนกลยุทธ์จะประกอบด้วย วัตถุประสงค์ด้านการเงินของบริษัท เช่น เป้าหมายของผลกำไรที่ต้องการ, อัตราส่วนของหนี้สินและเงินกู้, ค่าคาดหวังของผลตอบแทนที่ต้องการ เป็นต้น
          2. ระบบประมวลผลรายการ สารสนเทศด้านการเงินที่สำคัญจะมาจากโปรแกรมการประมวลผลรายการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมเงินเดือน, โปรแกรมควบคุมสินค้าคงคลัง, โปรแกรมสั่งซื้อสินค้า, โปรแกรมบัญชีรายรับ-รายจ่าย, และโปรแกรมใบสั่งซื้อ ทั่วไป โดยข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมเหล่านี้ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านเงินเดือนรวม, เงินลงทุนในคลังสินค้า, ยอดขายรวม, ปริมาณเงินที่จ่ายให้กับแหล่งผลิตสินค้า, ปริมาณหนี้รวมของลูกค้าที่มีต่อบริษัทและรายละเอียดข้อมูลบัญชีต่าง ๆ โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปสร้างเป็น   รายงานด้านการเงิน เพื่อใช้ในการตัดสินใจต่อไป
          3. แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ สารสนเทศเกี่ยวกับคู่แข่งขัน อาจได้มาจากรายงานประจำปีของบริษัทคู่แข่ง, หนังสือพิมพ์, สื่อต่าง ๆ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมถึงสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศหรือของโลก เช่น สภาวะเงินเฟ้อ, อัตราภาษี เหล่านี้เป็นต้น
ระบบย่อยและผลที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน
          ระบบย่อยในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ขึ้นอยู่กับองค์กรและความต้องการขององค์กรนั้น โดยอาจประกอบด้วยระบบภายในและระบบภายนอกที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการ ประมวลผลทางธุรกิจของบริษัท เช่น ระบบการจัดหา, การใช้, และการควบคุมเงินสด, ระบบเงินทุนและแหล่งการเงินอื่น ๆ และอาจจะประกอบด้วย ระบบย่อยในการหากำไร/ขาดทุน, ระบบ บัญชีค่าใช้จ่ายและระบบการตรวจสอบ โดยระบบต่าง ๆ เหล่านี้จะทำงานประสานกับระบบประมวลผลรายการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ผู้จัดการด้านการเงินสามารถนำไปใช้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้จากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการด้านการเงิน ได้แก่ รายงานด้านการเงินต่าง ๆ เช่น รายงานกำไร/ขาดทุน, รายงานระบบค่าใช้จ่าย, รายงานการตรวจสอบภายในและภายนอกและรายงานการใช้และการจัดการเงินทุน เป็นต้น

 

Prattana Wichaiya Template by Ipietoon Blogger Template | Gift Idea