ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(Stock Exchange of
Thailand" : SET)
************************************************************************************************************
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ( MARKETING ASSOCIATION OF THAILAND : MAT)
ตลาดตราสารหนี้( Bond Electronic Exchange: BEX)
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of
Thailand - SET) เป็นตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2517 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดทำการซื้อขายขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 ทำหน้าที่เป็นตลาดรองเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายตราสารทุน ของบริษัทต่างๆ
ที่ขึ้นทะเบียนไว้ และ เพื่อให้สามารถระดมเงินทุนเพิ่มเติมจากสาธารณะได้โดยสะดวก
ปัจจุบันการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
เวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์
มี 2 ช่วงคือ ช่วงเช้า 10.00น. - 12.30น. ช่วงบ่าย 14.30น. - 16.30น. และหยุดตามวันหยุดของทางราชการ
การดำเนินงานหลัก
=== การรับหลักทรัพย์จดทะเบียน ===
บริษัทจดทะเบียนประกอบด้วยบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และตลาดเอ็ม
เอ ไอ
บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET)
บริษัทจดทะเบียนใน[[ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ]] (MAI)
หลักทรัพย์จดทะเบียน
** [[หุ้นสามัญ]] (Common
Stocks)
** [[หุ้นบุริมสิทธิ]] (Prefer Stocks)
** [[หน่วยลงทุน]] (Unit
Trusts)
ใบสำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย
(NVDR)
**
[[ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์]]หรือวอแรนท์ (Warrant)
** [[ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้]]
(Tranferable Subscription Right:TSR)
** [[ใบสำคัญแสดงสิทธิที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง]]
(Deposit Receipt:DR)
** [[ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์]]หรือวอแรนท์อนุพันธ์
(Derivative Warrants:DW)
** [[กองทุน ETF]] (Exchange
Traded Fund)
** [[หุ้นกู้]] (Debentures)
** [[พันธบัตร]] (Bond)
![]() |
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย ( MARKETING ASSOCIATION OF THAILAND : MAT)
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
( MARKETING ASSOCIATION OF THAILAND (MAT)) ได้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นมาจากการปรึกษาหารือระหว่างนักบริหารการตลาดที่เข้าร่วมอบรม
ณ ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย และด้วยความช่วยเหลือให้คำปรึกษาจากที่ปรึกษา
และเจ้าหน้าที่เทคนิคทางด้านการตลาดของศูนย์ฯ อันมีผลสรุปได้ว่าการก่อตั้งสมาคมฯ
นี้จะมีผลดีอย่างยิ่งในการที่จะให้นักการตลาดทั้งหลาย
ได้มีโอกาสปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน
รวมทั้งเป็นทางเผยแพร่เทคนิคทางการตลาดใหม่ ๆ
ซึ่งจะเป็นผลดีในที่สุดต่อการปรับปรุงและพัฒนาการตลาดของไทย ดังนั้น สมาคมฯ
จึงได้ก่อตั้งขึ้นและได้จดทะเบียนจากทางราชการในเดือน เมษายน 2509
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เป็นสมาคมวิชาชีพด้านการตลาด ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไร มุ่งส่งเสริมความเจริญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศด้วยการส่งเสริมและพัฒนาการตลาดและความสามารถของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการตลาด
สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย เป็นสมาคมวิชาชีพด้านการตลาด ดำเนินการโดยไม่หวังผลกำไร มุ่งส่งเสริมความเจริญทางด้านเศรษฐกิจของประเทศด้วยการส่งเสริมและพัฒนาการตลาดและความสามารถของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการตลาด
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมหลักการและการปฏิบัติของการตลาดในกิจกรรมอุตสาหกรรมและการค้าในประเทศไทยให้ก้าวหน้าด้วยการปรับปรุงความสามารถทั่วๆ
ไป การศึกษาความรู้ทางวิชาการและสมรรถภาพของผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับ การตลาด
2.เพื่อเป็นศูนย์กลางสำหรับสมาชิกในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องต่าง
ๆ เกี่ยวกับการตลาด
3.เพื่อให้ความช่วยเหลือร่วมกันในอันที่จะนำวิธีการจัดการตลาดไปใช้สำหรับปรับปรุงประสิทธิภาพในธุรกิจของสมาชิกให้ดีขึ้น
4.เพื่อตั้งหลักจรรยาในการปฏิบัติงานของผู้เกี่ยวข้องในการตลาดและดำรงรักษาหลักเหล่านั้นไว้เป็นมาตรฐาน
5.เพื่อเผยแพร่ข้อคิดเห็นที่ว่าการตลาดเป็นอาชีพที่มีเกียรติและคุณค่า
6.เพื่อให้ผู้มีอาชีพในการตลาดได้มีส่วนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาและการแนะแนวทางสำหรับผู้ที่มุ่งจะมีอาชีพในทางนี้
ตลอดจนร่วมมือกับอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา และวงการอาชีพต่าง ๆ ในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร
ความรู้เกี่ยวกับความต้องการของการศึกษาในการตลาดทั้งในปัจจุบันและอนาคต
7.เพื่อร่วมมือกับสถาบันต่าง
ๆ ที่ดำเนินการฝึกอบรมทางการตลาด
8.เพื่อติดต่อและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ความรู้ ความชำนาญ และข่าวสารต่าง ๆ ทางด้านการตลาดอยู่เสมอ
9.เพื่อเผยแพร่หลักการในการเพิ่มผลผลิตทางการตลาด
และยกระดับมาตรฐานการครองชีพให้สูงขึ้น ด้วยการ
ปรับปรุงวิธีการจัดการตลาดให้ดีขึ้น
10.เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร
ความรู้ และปัญหาเกี่ยวกับการตลาดด้วยการออกหนังสือ วารสาร และเอกสารต่าง ๆ
11.เพื่อให้ความอุปถัมภ์ในการวิจัยศึกษา
ค้นคว้า
และดำเนินการสำรวจในเรื่องเกี่ยวกับการตลาดอันจะเป็นการช่วยเพิ่มพูนความรู้
ทางเทคนิคที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิธีนั้น ๆ ให้ดียิ่งขึ้น
************************************************************************************************************
บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)(Thailand Futures Exchange : TFEX)
บมจ.
ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ
เป็นหน่วยงานที่อาสาเข้ามาเป็นผู้บุกเบิกตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทางการเงินในประเทศไทยเพื่อเป็นจักรกลในการพัฒนาความก้าวหน้าของตลาดทุนไทยให้เติบโตไปอย่างต่อเนื่อง
โดย บมจ. ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ
กำหนดพันธกิจของของการดำเนินธุรกิจโดยมุ่งสู่การเป็นตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าชั้นนำในอาเซียน
ลักษณะการดำเนินงาน
บมจ. ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฯ
เป็นศูนย์กลางการซื้อขายอนุพันธ์เกี่ยวกับตราสารทุน ตราสารหนี้
และสินค้าโภคภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ ภายใต้พระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
โดยมีสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นหน่วยงานกำกับดูแล
สินค้าที่สามารถจัดให้มีการซื้อขายได้ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
พ.ศ. 2546 คือ ฟิวเจอร์ส (Futures) ออปชั่น
(Options) และออปชันบนสัญญาฟิวเจอร์ส (Options on
Futures) ของสินทรัพย์อ้างอิงประเภทต่าง ๆ
ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีบทบาทสำคัญในการสร้างเสถียรภาพในตลาดการเงินและระบบเศรษฐกิจ
เนื่องจากอนุพันธ์สามารถนำมาใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนหรือผู้ประกอบการต้องเผชิญได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อนุพันธ์สามารถอ้างอิงกับราคา หรือดัชนีราคาของสินค้า หรือสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ
ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย
ราคา-พันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยนราคาน้ำมัน ราคาทองคำ ราคาสินค้าเกษตร เป็นต้น
ด้วยความหลากหลายของสินทรัพย์อ้างอิงนี้ ทำให้อนุพันธ์สามารถใช้จัดการกับปัจจัยความเสี่ยงต่างๆได้อย่างคล่องตัว
เช่น ในภาคการผลิต ผู้ผลิตสามารถใช้อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินค้าต่างๆ
ในการควบคุมราคาต้นทุนสินค้าทั้งทางด้านต้นทุนราคาวัตถุดิบและต้นทุนด้านการผลิต
สามารถใช้ควบคุมราคาจัดจำหน่ายสินค้ารวมถึงสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ภายนอก
เช่น ควบคุมราคาอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น
ในภาคการเงินก็เช่นกัน
ผู้ลงทุนหรือผู้ที่ประกอบธุรกิจในตลาดทุนที่ต้องเผชิญความเสี่ยง
ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
และความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์ การใช้อนุพันธ์ทางการเงินนี้
ช่วยให้ผู้ลงทุน และผู้ที่ประกอบธุรกิจในตลาดทุน
สามารถบริหารความเสี่ยงดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอีกประการหนึ่ง
คือ เป็นเครื่องมือที่เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการลงทุน
อนุพันธ์ทางการเงินนั้นสามารถนำมาซื้อขาย เพื่อทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคา
หรือทำกำไรจากทิศทางการขึ้นลงของตัวแปรทางการเงินต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นดัชนีราคาหลักทรัพย์
อัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยน ยิ่งไปกว่านั้น
อนุพันธ์ยังมีจุดเด่นที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือประกอบกลยุทธ์จัดการการลงทุนในแบบที่หลากหลายและคล่องตัว
ช่วยให้การบริหารจัดการการลงทุนบรรลุวัตถุประสงค์ดังที่วางไว้
************************************************************************************************************
ตลาดตราสารหนี้( Bond Electronic Exchange: BEX)
นักลงทุนสามารถซื้อขายตราสารหนี้ได้ที่ตลาดตราสารหนี้
( Bond Electronic Exchange: BEX) ซึ่งเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไปตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ที่ผ่านมา
ด้วยระบบการซื้อขายแบบเรียลไทม์ นำเสนอข้อมูลที่โปร่งใส
ตลอดจนถึงกระบวนการส่งมอบและชำระราคาที่เชื่อถือได้
เพื่อที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณการซื้อขาย
คุณภาพของตราสารหนี้ ตัวกลางการซื้อขาย แหล่งข้อมูลอ้างอิง
รวมถึงการขยายขอบเขตการพัฒนาให้กว้างขวางขึ้น
และครอบคลุมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศไทยทั้งหมด เพื่อให้รองรับต่อแนวนโยบายของภาครัฐในเรื่องตลาดพันธบัตรแห่งเอเชีย
โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการตลาดรองตราสารหนี้ที่สมบูรณ์แบบของประเทศไทย
ซึ่งสามารถให้บริการครอบคลุมผู้ลงทุนและผู้ค้าตราสารหนี้ทั้งหมด
บทบาทของตราสารหนี้
การระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้
เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในปี2540 ประเทศไทย ต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
สถาบันการเงินและบริษัทเอกชนจำนวนมากประสบกับปัญหาความมั่นคงทางการเงิน
ภาครัฐบาลต้องออกพันธบัตร กู้เงินจากประชาชนและนักลงทุน
เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและเพื่อช่วยฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ ในขณะที่บริษัทเอกชน เริ่มทยอยออกขายหุ้นกู้
เพื่อเป็นช่องทางระดมทุนเพิ่ม จากการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ตลาดตราสารหนี้ได้รับแรงส่งเสริม
จากสภาวะอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศที่ตกต่ำ เป็นระยะเวลานานหลายปี
อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินกู้ของธนาคาร อยู่ในระดับต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์
ทำให้นักลงทุนสถาบัน และผู้มีเงินออมกับภาคธนาคาร
ตระหนักถึงการกระจายเงินลงทุนไปสู่ตราสารหนี้นับเป็นการเปิดศักราชของการระดมทุนระยะยาวในประเทศ
ที่จะเป็นรากฐาน ในการเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงิน
ให้แก่การดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน เนื่องจากสามารถกระจายแหล่งระดมเงินทุน
ให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยผ่านตลาดทุนในรูปการขายหุ้นสามัญ และการออกขายหุ้นกู้
ให้แก่นักลงทุนภายในและต่างประเทศ บริษัทสามารถวางกลยุทธ์
ด้านการจัดการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากเดิมที่พึ่งพิงเงินทุนจากสถาบันการเงิน ในรูปเงินกู้โดยตรงเท่านั้น
************************************************************************************************************
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย(Altering Risk to Opportunity : AFET)
เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าปีพ.ศ.
2542 และเป็นตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพียงตลาดเดียว
มีฐานะเป็นนิติบุคคลอิสระ โดยภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
ทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าภายใต้กฎระเบียบที่ชัดเจน
และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
และเพื่อให้การจัดตั้งตลาดที่มีการซื้อขายล่วงหน้าบรรลุวัตถุประสงค์คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่
18 ธันวาคม พ.ศ.2544 ให้นำเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน
600 ล้านบาทเพื่อใช้ในการจัดตั้ง สำนักงานคณะกรรมการกำกับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.)
และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
ความพยายามในการจัดตั้งตลาดล่วงหน้าในประเทศไทยนั้นนับได้ว่าใช้เวลานานเป็นอย่างยิ่ง
ความคิดในการตั้งตลาดล่วงหน้าในประเทศไทยมีขึ้นมานานแล้ว
เนื่องจากเห็นแบบอย่างของตลาดล่วงหน้าในต่างประเทศ
ซึ่งในประเทศเหล่านั้นใช้ตลาดล่วงหน้าในการป้องกันความเสี่ยง และเป็นการค้นพบราคาในอนาคตซึ่งแยกจากตลาดที่ดำเนินการซื้อขายปรกติ
ย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.2522 รัฐบาลต้องการปกป้องผู้มีรายได้น้อยที่จะถูกคดโกงจากธุรกิจแชร์
หรือการลงทุนในธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าหรือที่รู้จักกันในนาม "คอมมอดิตี้"
และได้ดำเนินการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่
58 ขึ้นมาเพื่อป้องกันประชาชนถูกฉ้อโกง
แต่ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
และร่างดังกล่าวยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา
จนกระทั่งล่วงเลยมาถึงปีพ.ศ.2526 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ทำการศึกษาปรับปรุงระบบตลาดสินค้าเกษตรและเห็นชอบให้มีการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
และต่อมาในปีพ.ศ. 2529 กรมการค้าภายในได้นำมาศึกษาต่อ
เนื่องจากตลาดข้าวโพดในประเทศทำการซื้อขายล่วงหน้ามีปัญหาการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
และเห็นชอบให้มีการจัดตั้งตลาดล่วงหน้าขึ้นเช่นเดียวกัน และในปีพ.ศ.2531 มีความพยายามจากภาคเอกชนในการตั้งบริษัท บางกอกคอมมอดิตี้ เอ็กซ์เช้นท์
จำกัดเพื่อประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า แต่รัฐบาลไม่เห็นชอบให้จัดตั้ง
เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายควบคุมการธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าโดยตรง
และรัฐบาลเห็นว่าควรแยกกฎหมายควบคุมการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าจากธุรกิจแชร์
ปีพ.ศ. 2532
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร้องขอให้กระทรวงพาณิชย์จัดทำโครงสร้างตลาดซื้อขายล่วงหน้ายางพารา
จนกระทั่งปีพ.ศ.2534 กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับกิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า
คือยกร่างพระราชบัญญัติขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2535 และได้มีการปรับปรุงร่างหลายครั้งหลายรัฐบาล
จนกระทั่งสุดท้ายผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาและได้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่
15 ตุลาคม พ.ศ.2542
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น