1.ระบบสารสนเทศประมวลผลรายการ
(Transaction Processing Systems: TPS)
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ
เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง
เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที
เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า
ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
หน้าที่ของ TPS
1) การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2) การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3) การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4) การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5) การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป
หน้าที่ของ TPS
1) การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
2) การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
3) การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
4) การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
5) การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป
2.ระบบงานสร้างความรู้ (
Knowledge Work System : KWS )
เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ ใหม่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น
ฐานข้อมูลความรู้เพื่อการจัดการ
เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ ใหม่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น
ฐานข้อมูลความรู้เพื่อการจัดการ
ใช้สนับสนุนการทำงานของพนักงานกลุ่มที่มีความรู้สูง
(Knowledge Workers) เช่น วิศวกร แพทย์ นักกฎหมาย นักวิทยาศาสตร์
เป็นพนักงานกลุ่มที่มีความรู้สูงได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ ระบบนี้
ใช้รับผิดชอบการสร้างข่าวสารให้เป็นประโยชน์ หรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ
ขั้นตอนการพัฒนาฐานความรู้เพื่อการจัดการ (Knowledge Management Systems: KMS) มี 4 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนการพัฒนาฐานความรู้เพื่อการจัดการ (Knowledge Management Systems: KMS) มี 4 ขั้นตอน คือ
- Creation - สร้าง
- Storage - จัดเก็บ
- Distribution - เผยแพร่
- Application - จัดการ
กระบวนการในการสร้าง
KMS ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ
- Infrastructural Evaluation ขั้นการวางโครงสร้างพื้นฐานของการจัดการความรู้
- KM System Analysis, Design and Development ขั้นการประเมินระบบ การจัดการความรู้ การออกแบบ และการพัฒนา
- System Development ขั้นตอนการพัฒนาระบบที่ได้มีการประเมินแล้ว
- Evaluation ชั้นตอนการประเมินระบบการจัดการความรู้ที่ได้สร้าง
Knowledge
Work System ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ฐานข้อมูลการจัดการลูกค้า และการตลาด
2. สารบัญฐานข้อมูลความรู้พื้นฐานและวิธีการจัดการลูกค้าขององค์กร
3. การเชื่อมต่อองค์ประกอบด้านบัญชี
4. การจัดการคลังสินค้า และการหมุนเวียนอุปกรณ์
5. การเชื่อมต่อฐานข้อมูลสิทธิลูกค้า (Authentication service management)
6. ระบบการจัดการผู้ใช้งานของ KWS
3.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ(Office Automation System : OAS)
1. ฐานข้อมูลการจัดการลูกค้า และการตลาด
2. สารบัญฐานข้อมูลความรู้พื้นฐานและวิธีการจัดการลูกค้าขององค์กร
3. การเชื่อมต่อองค์ประกอบด้านบัญชี
4. การจัดการคลังสินค้า และการหมุนเวียนอุปกรณ์
5. การเชื่อมต่อฐานข้อมูลสิทธิลูกค้า (Authentication service management)
6. ระบบการจัดการผู้ใช้งานของ KWS
เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด
โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่องโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน
OAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ (Paperless
System) ส่งข่าว สารถึงกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic
Data Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะคือ
- รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Publishing & Processing System) ได้แก่การสื่อสารด้วยข้อความ
รูปภาพ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail) โทรสาร
(FAX)หรือ เสียงอิเล็กทรอนิกส์ (Voice Mail) เป็นต้น
- รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(Electronic Meeting System) เป็นเทคนิคที่ทำให้กลุ่มคนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้
คล้ายการพูดคุยกันโดยตรง เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio
Conferencing),การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video
Conferencing) หรือ ทั้งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร และ
เสียงอิเล็กทรอนิกส์รวมกัน เป็นต้น
ระบบสำนักงานอัตโนมัติช่วยให้การทำงานในสำนักงานคล่องตัวขึ้น
เช่น ในอดีตลูกค้าจะสั่งสินค้าโดยบันทึกความต้องการลงบนกระดาษแล้วพนักงานขายจึงถือกระดาษนั้นไปยังฝ่ายการตลาด
เพื่อนำสินค้าออกมาแต่ในปัจจุบันลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน
หรือจากที่ใดของโลกได้โดยผ่านระบบ OAS และก่อให้เกิดระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นนั่นเอง
ระบบ OAS มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
- Networking Systemคือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร
- Electronic Data Interchangeคือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกันโดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่าย
- Internet คือ การรวมตัวกันของระบบเครือข่ายตามข้อ1 ที่กระจายอยู่ทั่วโลกจนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
- Paperless System คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษ ดัง2 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ
- Post of Sale (POS) เป็นการขายแบบมีการบันทึกรายการขาย และ รายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกันสินค้าทันทีที่มีการขาย ณ จุดขายนั้นๆ
- Electronic Funds Transfer(EFT) เป็นระบบการโอนเงินอัตโนมัติของธนาคารทั่วไป
4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
(Decision Support Systems: DSS)
เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ
ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน
โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ
ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Characteristics of DSS) ระบบ DSS จะมีการแบ่งแยกการตัดสินใจในลักษณะที่เป็นโครงสร้าง
ลักษณะไม่เป็นโครงสร้าง และลักษณะกึ่งโครงสร้าง
โดยส่วนใหญ่ปัญหาที่เป็นโครงสร้างเกิดจากการทำงานประจำ
ส่วนปัญหาที่ไม่เป็นโครงสร้างเกิดจากความไม่แน่นอน เนื่องจากงานไม่เป็นประจำ
ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกึ่งโครงสร้าง
มักจะเกิดจากปัญหาที่มีโครงสร้างแต่ผิดไปจากงานประจำบ้าง โดยทั่วไประบบ DSS
มักจะถูกนำมาใช้ในการออกแบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
วิเคราะห์ปัญหาในลักษณะกึ่งโครงสร้างและไม่เป็นโครงสร้าง ซึ่งแตกต่างจากระบบ TPS
และ MIS ซึ่งมีการจัดการกับปัญหาที่เป็นโครงสร้าง
และในขณะเดียวกันองค์การมักจะใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติ [Operations Research
(OR)] ในการจัดเตรียมตัวแบบเพื่อใช้ในการสร้างทางเลือก
แต่ในปัจจุบันระบบ DSS ได้ถูกออกแบบเพื่อรวมความสามารถของ TPS
MIS และการสร้างตัวแบบของ OR เข้าด้วยกัน
เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ
และสร้างเครื่องมือในการวิเคราะห์ให้กับผู้ใช้
การออกแบบ DSS ที่ดีจะต้องสามารถตอบสนองต่อการนำไปใช้ของผู้บริหารระดับสูง สามารถช่วยในเรื่องการพยากรณ์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ และผู้บริหารระดับกลางสามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้ ในอดีตการตัดสินใจที่ผิดพลาดมักจะเกิดจากตัวบุคคล แต่ในปัจจุบันการตัดสินใจมักจะขึ้นกับกลุ่มบุคคลมากกว่าตัวบุคคล จึงมีการนำระบบ DSS มาช่วยในการตัดสินใจเป็นกลุ่ม [Group Decision Support System (GDSS)] ระบบ DSS ที่ดีจะสามารถช่วยในการหาข้อมูล เลือกข้อมูลและใช้ตัวแบบที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการควบคุมการทำงานด้วยตนเองปราศจากการแทรกแซงของผู้ชำนาญ ผู้ชำนาญจะทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา ฝึกอบรม แนะนำ และสนับสนุน ส่วนการปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ใช้
เป้าหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
เป้าหมายของระบบสนับสนุนการติดสินใจ (DSS Goals) และการประยุกต์ใช้ในองค์การส่วนใหญ่มักจะใช้ DSS โดยมีเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ ดังนี้
1. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง (Semi structured and Unstructured decisions) ในความเป็นจริงข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์การมีข้อมูลที่หลากหลาย ข้อมูลบางประเภทเกิดจากกิจกรรมของธุรกิจที่เกิดขึ้นประจำวัน (Routine) ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นย่อมมีมาตรฐานหรือมีโครงสร้างที่แน่นอน ซึ่งองค์การสามารถใช้ระบบ MIS ในส่วนระบบการประมวลผลรายการ (TPS) ได้ แต่ในขณะเดียวกันมีข้อมูลบางประเภทที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการวิเคราะห์ และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ต้นทุนของวัตถุดิบหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์การ ในลักษณะนี้จะเกิดข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างขึ้นหรือกึ่งโครงสร้างซึ่งระบบ TPS จะไม่เหมาะสำหรับการประมวลผลประเภทนี้ ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องใช้ระบบ DSS เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
2. ความสามารถในการปรับปรุงความต้องการที่เปลี่ยนไป (Ability to adapt changing needs) ผู้บริหารระดับสูงมักจะมีความต้องการสารสนเทศที่หลากหลาย เพื่อช่วยในการตัดสินใจ แต่ระบบ TPS มักจะให้สารสนเทศในเชิงบริหาร เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน แต่ไม่มีงบการเงินเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นระบบ DSS จึงต้องมีความสามารถในการปรับปรุงข้อมูล ให้ออกมาในรูปที่ช่วยในการตัดสินใจ
3. ง่ายต่อการเรียนรู้และนำมาใช้ (Ease of learning and use) ระบบ DSS เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาโดยคาดหวังว่าผู้ใช้โดยทั่วไปสามารถเรียนรู้ได้ และนำไปปฏิบัติได้ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม โลตัส 1-2-3 (Lotus 1-2-3) MS-EXCEL เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถแสดงผลในรูปของข้อความ (Text) รูปภาพ (Graphics) และตัวเลข (Numeric) ได้
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Component of DSS) ส่วนประกอบเบื้องต้นของ DSS เป็นการเชื่อมระหว่างฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูลที่จำเป็นที่จะต้องใช้ในการตัดสินใจของผู้จัดการหรือผู้ใช้
หน้าที่หลักของ DSS
1) ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
2) ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
3) ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)
4) เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
5) จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
6) นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค
การออกแบบ DSS ที่ดีจะต้องสามารถตอบสนองต่อการนำไปใช้ของผู้บริหารระดับสูง สามารถช่วยในเรื่องการพยากรณ์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ และผู้บริหารระดับกลางสามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้ ในอดีตการตัดสินใจที่ผิดพลาดมักจะเกิดจากตัวบุคคล แต่ในปัจจุบันการตัดสินใจมักจะขึ้นกับกลุ่มบุคคลมากกว่าตัวบุคคล จึงมีการนำระบบ DSS มาช่วยในการตัดสินใจเป็นกลุ่ม [Group Decision Support System (GDSS)] ระบบ DSS ที่ดีจะสามารถช่วยในการหาข้อมูล เลือกข้อมูลและใช้ตัวแบบที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการควบคุมการทำงานด้วยตนเองปราศจากการแทรกแซงของผู้ชำนาญ ผู้ชำนาญจะทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา ฝึกอบรม แนะนำ และสนับสนุน ส่วนการปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ใช้
เป้าหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
เป้าหมายของระบบสนับสนุนการติดสินใจ (DSS Goals) และการประยุกต์ใช้ในองค์การส่วนใหญ่มักจะใช้ DSS โดยมีเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายหลัก 3 ประการ ดังนี้
1. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง (Semi structured and Unstructured decisions) ในความเป็นจริงข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์การมีข้อมูลที่หลากหลาย ข้อมูลบางประเภทเกิดจากกิจกรรมของธุรกิจที่เกิดขึ้นประจำวัน (Routine) ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นย่อมมีมาตรฐานหรือมีโครงสร้างที่แน่นอน ซึ่งองค์การสามารถใช้ระบบ MIS ในส่วนระบบการประมวลผลรายการ (TPS) ได้ แต่ในขณะเดียวกันมีข้อมูลบางประเภทที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการวิเคราะห์ และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ต้นทุนของวัตถุดิบหรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์การ ในลักษณะนี้จะเกิดข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้างขึ้นหรือกึ่งโครงสร้างซึ่งระบบ TPS จะไม่เหมาะสำหรับการประมวลผลประเภทนี้ ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องใช้ระบบ DSS เพื่อช่วยในการตัดสินใจ
2. ความสามารถในการปรับปรุงความต้องการที่เปลี่ยนไป (Ability to adapt changing needs) ผู้บริหารระดับสูงมักจะมีความต้องการสารสนเทศที่หลากหลาย เพื่อช่วยในการตัดสินใจ แต่ระบบ TPS มักจะให้สารสนเทศในเชิงบริหาร เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน แต่ไม่มีงบการเงินเพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นระบบ DSS จึงต้องมีความสามารถในการปรับปรุงข้อมูล ให้ออกมาในรูปที่ช่วยในการตัดสินใจ
3. ง่ายต่อการเรียนรู้และนำมาใช้ (Ease of learning and use) ระบบ DSS เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาโดยคาดหวังว่าผู้ใช้โดยทั่วไปสามารถเรียนรู้ได้ และนำไปปฏิบัติได้ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม โลตัส 1-2-3 (Lotus 1-2-3) MS-EXCEL เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถแสดงผลในรูปของข้อความ (Text) รูปภาพ (Graphics) และตัวเลข (Numeric) ได้
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Component of DSS) ส่วนประกอบเบื้องต้นของ DSS เป็นการเชื่อมระหว่างฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และข้อมูลที่จำเป็นที่จะต้องใช้ในการตัดสินใจของผู้จัดการหรือผู้ใช้
หน้าที่หลักของ DSS
1) ระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการสนับสนุนผู้ตัดสินใจทางการบริหารทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือกลุ่ม โดยการตัดสินใจนั้นจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่มีลักษณะเป็นแบบ ไม่มีโครงสร้าง (unstructured situations) โดยจะมีการนำวิจารณญาณของมนุษย์กับข้อมูล จากคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบในการตัดสินใจ
2) ระบบ DSS ช่วยในการตอบสนองความต้องการที่ไม่ได้คาดการณ์มาก่อนโดยผู้ใช้สามารถปรับข้อมูลใน DSS ได้ตลอดเวลาเพื่อจัดการกับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การวิเคราะห์ที่เรียกว่า Sensitivity Analysis
3) ช่วยในการตัดสินใจที่ต้องการความรวดเร็วสูง เพื่อใช้ประกอบในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน ดังนั้น DSS จึงมีลักษณะการโต้ตอบได้ (interactive)
4) เสนอทางวิเคราะห์ในทางเลือกต่างๆ ในสถานการณ์ที่มีความซับซ้อน
5) จัดการเก็บข้อมูลซึ่งมาจากหลายแหล่งได้ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
6) นำเสนอได้ทั้งรายงานที่เป็นข้อความและกราฟฟิค
5.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
(Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ
เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก
สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต
นอกจากนี้ระบบ MIS จะต้อง ให้สารสนเทศ
ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม
และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบ MIS สูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบ MIS แล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบ MIS จะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวการณ์หรือเหตุผิดปกติ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System : MIS เป็นระบบการจัดหาคนหรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเพื่อการดำเนินงานขององค์การการจัดโครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับการนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัติและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฏิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล
แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบ MIS สูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบ MIS แล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบ MIS จะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวการณ์หรือเหตุผิดปกติ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ Management Information System : MIS เป็นระบบการจัดหาคนหรือข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับข้อมูลเพื่อการดำเนินงานขององค์การการจัดโครงสร้างของสารสนเทศโดยแบ่งตามลำดับการนำไปใช้งานสามารถแบ่งได้ 4 ระดับดังนี้
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในการวางแผนนโยบาย กลยุทธ์ และการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในส่วนยุทธวิธีในการวางแผนการปฏิบัติและการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง
3. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในระดับปฏิบัติการและการควบคุมในขั้นตอนนี้ผู้บริหารระดับล่างจะเป็นผู้ใช้สารสนเทศเพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน
4. ระบบสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล
6.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive
Information Systems: EIS หรือ Executive Support
Systems: ESS)
เป็นระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้บริหาร
เช่น ให้ผู้บริหารสามารถใช้งาน Internet หรือสามารถใช้
Video Conference ได้ ซึ่งระบบ ESS จะต้องมีความสามารถในการสนับสนุน
(Support) ในเรื่องการสื่อสาร (Communications) การจัดการระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office automation) สนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ (Analysis support) และตัวเลข หรือเป็นระบบอัจฉริยะ (Intelligence)
ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
ระบบสนับสนุนผู้บริหาร [Executive support system (ESS)] มีลักษณะคล้ายกับระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) และ GDSS ทั้งนี้เนื่องจาก DSS และ GDSS ใช้ในการจัดการกับปัญหาที่เป็นปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง แต่ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (ESS) จะใช้เฉพาะกับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ส่วนสำคัญ คือ ข้อมูลต่าง ๆ จะต้องมาจากฐานข้อมูลภายนอก และภายในมารวมกัน และผู้บริหารสามารถที่จะใช้ข้อมูล ในการวิเคราะห์โอกาส อุปสรรค และแนวโน้ม กลุ่มของผู้บริหารในองค์การที่มีการใช้ ESS ได้แก่ ประธานและรองประธานฝ่ายต่าง ๆบทบาทผู้บริหารและการตัดสินใจ (Executive roles and decision making) การตัดสินใจของผู้บริหารโดยส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic planning) การวางแผนยุทธวิธี (Tactical planning) และกิจการรมปัญหาเฉพาะหน้าที่ (Fire-fighting activity) ผู้บริหาร จำเป็นจะต้องมีการควบคุมเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ บรรลุตามเป้าหมาย
หน้าที่สำหรับการกำหนดความต้องการของระบบสนับสนุนผู้บริหาร ESS
1.จำแนกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นให้เป็นชุดหรือเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์และตัดสินใจ
2. ล้วงเอาความจริง (Elicit) จากการประเมินผลกระทบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีผลกระทบต่อเป้าหมายของบริษัทหรือไม่ ถ้าหากมีผล กระทบ ต้องพยายามเปลี่ยนแผนเพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
3.ล้วงเอาความจริงจากตัวดัชนี สามในห้าประการซึ่งถูกนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาแต่ละประเด็น
4.ค้นหาความจริงเกี่ยวกับศักยภาพของแหล่งสารสนเทศ ที่จะใช้เป็นตัวกำหนดในการบริหารองค์การ
5.ทดสอบทางเลือกต่าง ๆ ที่เป็นตัวกำหนดแนวทางว่าทางเลือกไหนดีที่สุด คือมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
ประโยชน์ของระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Benefits of ESS) ระบบสนับสนุนผู้บริหารมีประโยชน์ต่อผู้บริหารหลายประการ จึงทำให้แนวโน้มการใช้ระบบ ESS เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ ESS ได้แก่
1. คุณค่าโดยส่วนใหญ่ของ ESS เกิดจากความยืดหยุ่น (Flexibility) ในระบบนี้สามารถใส่ข้อมูลและเครื่องมือ โดยอาศัยตัวผู้บริหารโดยปราศจากความยุ่งยากและปัญหา ผู้บริหารมีอินสระในการแก้ประเด็นปัญหาที่ต้องการ โดยใช้กระบวนการความคิด (Thinking process) ซึ่งไม่ใช่ระบบตัดสินใจแต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ
2.ประโยชน์ที่มองเห็นของ ESS ก็คือ ความสารถในการวิเคราะห์เปรียบเทียบและกำหนดแนวโน้ม โดยการใช้รูปภาพทำให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นได้มากแต่ใช้เวลาน้อย ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจมากกว่าระบบที่ใช้กระดาษเป็นตัวสื่อสาร
3. ผู้บริหารได้มีการใช้ ESS ในการติดตามผลงาน ซึ่งจะทำให้ประสบผลสำเร็จ ในการหน้าที่ความรับผิดชอบบางครั้งก็มีการใช้ระบบนี้ในการติดตามงานหลัก โดยมีการจำแนกผลที่ได้ว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่
4.ESS สามารถที่จะเปลี่ยนการทำงานในองค์การได้ เมื่อผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มาก จะทำให้การบริหารและการติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น จึงทำให้การรายงานและการตัดสินใจได้รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์
ระบบสนับสนุนผู้บริหาร
ระบบสนับสนุนผู้บริหาร [Executive support system (ESS)] มีลักษณะคล้ายกับระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS) และ GDSS ทั้งนี้เนื่องจาก DSS และ GDSS ใช้ในการจัดการกับปัญหาที่เป็นปัญหากึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง แต่ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (ESS) จะใช้เฉพาะกับปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ส่วนสำคัญ คือ ข้อมูลต่าง ๆ จะต้องมาจากฐานข้อมูลภายนอก และภายในมารวมกัน และผู้บริหารสามารถที่จะใช้ข้อมูล ในการวิเคราะห์โอกาส อุปสรรค และแนวโน้ม กลุ่มของผู้บริหารในองค์การที่มีการใช้ ESS ได้แก่ ประธานและรองประธานฝ่ายต่าง ๆบทบาทผู้บริหารและการตัดสินใจ (Executive roles and decision making) การตัดสินใจของผู้บริหารโดยส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic planning) การวางแผนยุทธวิธี (Tactical planning) และกิจการรมปัญหาเฉพาะหน้าที่ (Fire-fighting activity) ผู้บริหาร จำเป็นจะต้องมีการควบคุมเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ บรรลุตามเป้าหมาย
หน้าที่สำหรับการกำหนดความต้องการของระบบสนับสนุนผู้บริหาร ESS
1.จำแนกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นให้เป็นชุดหรือเป็นเรื่องเดียวกัน เพื่อง่ายต่อการวิเคราะห์และตัดสินใจ
2. ล้วงเอาความจริง (Elicit) จากการประเมินผลกระทบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีผลกระทบต่อเป้าหมายของบริษัทหรือไม่ ถ้าหากมีผล กระทบ ต้องพยายามเปลี่ยนแผนเพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
3.ล้วงเอาความจริงจากตัวดัชนี สามในห้าประการซึ่งถูกนำมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาแต่ละประเด็น
4.ค้นหาความจริงเกี่ยวกับศักยภาพของแหล่งสารสนเทศ ที่จะใช้เป็นตัวกำหนดในการบริหารองค์การ
5.ทดสอบทางเลือกต่าง ๆ ที่เป็นตัวกำหนดแนวทางว่าทางเลือกไหนดีที่สุด คือมีความเสี่ยงน้อยที่สุด
ประโยชน์ของระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Benefits of ESS) ระบบสนับสนุนผู้บริหารมีประโยชน์ต่อผู้บริหารหลายประการ จึงทำให้แนวโน้มการใช้ระบบ ESS เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ ESS ได้แก่
1. คุณค่าโดยส่วนใหญ่ของ ESS เกิดจากความยืดหยุ่น (Flexibility) ในระบบนี้สามารถใส่ข้อมูลและเครื่องมือ โดยอาศัยตัวผู้บริหารโดยปราศจากความยุ่งยากและปัญหา ผู้บริหารมีอินสระในการแก้ประเด็นปัญหาที่ต้องการ โดยใช้กระบวนการความคิด (Thinking process) ซึ่งไม่ใช่ระบบตัดสินใจแต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจ
2.ประโยชน์ที่มองเห็นของ ESS ก็คือ ความสารถในการวิเคราะห์เปรียบเทียบและกำหนดแนวโน้ม โดยการใช้รูปภาพทำให้ผู้ใช้สามารถมองเห็นได้มากแต่ใช้เวลาน้อย ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจมากกว่าระบบที่ใช้กระดาษเป็นตัวสื่อสาร
3. ผู้บริหารได้มีการใช้ ESS ในการติดตามผลงาน ซึ่งจะทำให้ประสบผลสำเร็จ ในการหน้าที่ความรับผิดชอบบางครั้งก็มีการใช้ระบบนี้ในการติดตามงานหลัก โดยมีการจำแนกผลที่ได้ว่าเป็นไปตามแผนหรือไม่
4.ESS สามารถที่จะเปลี่ยนการทำงานในองค์การได้ เมื่อผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มาก จะทำให้การบริหารและการติดตามกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น จึงทำให้การรายงานและการตัดสินใจได้รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์
ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ
ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแบบต่างๆ
ในองค์การ โดยปกติแล้ว TPS จะเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้กับระบบสารสนเทศอื่นๆ ในขณะที่ EIS จะเป็นระบบที่รับข้อมูลจากระบบสารสนเทศในระดับที่ต่ำกว่า นอกจากนี้
ในระบบสารสนเทศแต่ละประเภทอาจมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในระบบย่อยๆ กันเอง เช่น
ระบบสารสนเทศฝ่ายขายกับระบบสารสนเทศฝ่ายผลิต และระบบสารสนเทศฝ่ายจัดส่งสินค้า
เป็นต้น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น